ก่อนจะเลือกนักรีวิว ตัวเราเองนั้นต้องมีความเข้าใจแบรนด์ตัวเองก่อนเช่น สินค้าเกี่ยวกับอะไร, เหมาะกับเพศไหนอายุเท่าไหร่, สินค้าหรือบริการต้องการใช้ความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน หากมีความเข้าใจแล้วมาเลือกกันครับ
1. เลือกจากไลฟ์สไตล์ Demographic (เพศ อายุ โลเคชั่น สถานศึกษา)
ให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าของแบรนด์
อย่างที่ได้เกริ่นไว้หากเราไม่รู้ว่าแบรนด์เรานั้นกลุ่มเป้าหมายคือใคร ก็ยากที่จะเลือก Influencer ให้ตรงได้
ดังนั้นเราควรจะนำข้อมูลลูกค้าของเรามาใช้ประโยชน์ในจุดนี้ มองหา Influencer ที่ไลฟ์สไตล์ Demographic ตรงกับกลุ่มลูกค้าของแบรนด์เรามากที่สุด
การเลือก ไลฟ์สไตล์ Demographic ให้ตรง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
เลือกตัว Influencer ให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าและไลฟ์สไตล์ดเหมาะกับสินค้าที่จะโปรโมท เวลาทำรีวิวโปรโมทสินค้าจะทำให้ให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เพราะเหมือนกับว่าตัว Influencer เป็นลูกค้าของเราจริงๆ และมีโอกาสที่กลุ่มผู้ติดตาม กลุ่มเพื่อน จะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับตัว Influencer ชื่นชอบอะไรคล้ายๆ กัน มีโอกาสที่จะเป็นลูกค้าของเราเช่นกัน
ใช้ข้อมูล Demographic ของกลุ่มผู้ติดตาม Influencer เป็นตัวช่วย Social Media แต่ละช่องทางจะมีฟังก์ชันที่แสดงข้อมูลตรงนี้อยู่ สามารถขอข้อมูลจากตัว Influencer ได้เลยโดยตรง จะยิ่งทำให้การเลือก Influencer ของเราแม่นยำมากยิ่งขึ้น ตรงกับกลุ่มลูกค้าของเราจริงๆ 2. เลือกแพลตฟอร์มให้เหมาะสม
การเลือกแพลตฟอร์มนั้นก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน หากเลือกแพลตฟอร์มผิด แคมเปญนั้นๆ อาจไม่ได้ดีตาม
เป้าหมายที่คาดไว้เลยก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการให้สินค้าได้รับการรีวิวสั้นๆ แต่ดูสมจริง ดูเนียน ไม่ต้องการข้อมูลเชิงลึก และเกิดการบอกต่อที่รวดเร็วให้เลือกแพลตฟอร์ม Twitter แพลตฟอร์มนี้โดดเด่นในเรื่องเทรนด์ กระแส เพราะคนสามารถ Retweet คอนเทนต์กันได้ง่ายๆ ทำให้เกิดการกระจายได้อย่างรวดเร็ว
จุดสำคัญคือต้องพิจารณาจากตัวสินค้าที่จะทำการตลาดว่าเป็นสินค้าที่เหมาะกับการทำรีวิวรูปแบบใด รูปหรือวิดีโอ ต้องการรีวิวเชิงลึกหรือเน้นภาพสวย ต้องใช้ Influencer ที่เป็นผู้ชำนาญพิเศษในเรื่องนั้นๆ หรือต้องการบอกต่อจากคนธรรมดาในแต่ละแพลทฟอร์มก็จะมี Influencer ที่ชำนาญในด้านต่างๆ ไม่เหมือนกัน
แต่ละแพลตฟอร์มเหมาะกับคอนเทนต์รีวิวแบบไหนบ้าง?
Facebook - เหมาะกับคอนเทนต์รูปภาพ Photo Album พร้อมเขียนแคปชั่นให้เข้าใจง่าย เน้นให้คนแชร์ต่อ สามารถใช้ได้ทั้ง Fan Page และ Micro Influencer ที่เป็นคนธรรมดา Fan Page จะมีค่อนข้างหลากหลายและครอบคลุมหมวดหมู่ทุกรูปแบบ ตั้งแต่อาหาร ท่องเที่ยว ไปจนถึงการศึกษาและการเงิน การลงทุน การใช้ช่องทางนี้ ถ้าหากเป็น Fan Page จะสามารถซื้อโฆษณาเพิ่มไปที่ตัวคอนเทนต์ได้ง่ายที่สุด
Instagram - เหมาะการรีวิวที่ต้องการรูปภาพสวยๆ สามารถเล่าเรื่องได้จากภาพ แสดงความเป็นตัวตนของแบรนด์จากภาพให้ได้มากที่สุด หรือเป็นวิดีโอสั้นๆ Reels ส่วนใหญ่ใน Instagram จะเป็น Influencer
สายไลฟ์สไตล์ ดารา Net Idol และสายอาหาร ท่องเที่ยว เป็นหลัก
Twitter - เหมาะกับการทำคอนเทนต์เขียนรีวิวสั้นๆ แต่มีความจริงใจน่าเชื่อถือ หากมีการวางแผนที่ดีอาจทำให้ คอนเทนต์ Viral ได้เลย Influencer ใน Twitter จะมีเป็นสายข่าว สายแฟนคลับ สายเกาหลี เป็นส่วนใหญ่
Youtube - เหมาะกับคอนเทนต์วิดีโอที่ให้ความรู้เชิงลึกหรือสาย Entertain เป็นวิดีโอยาว เหมาะกับการ Tie-in สินค้าเข้าไปในคลิป ถ้าหากสินค้าต้องการผู้ชำนาญมาอธิบายเชิงลึก ช่องทางนี้จะเหมาะสมที่สุด
ใน Youtube เองจะมี Influencer อยู่หลายหมวดหมู่ แต่ที่เป็นที่นิยมจะใช้สาย Entertain และใช้การ Tie-in เป็นหลักเพราะสามารถเข้าถึงคนได้เป็นจำนวนมากๆ
TikTok - คอนเทนต์วิดีโอสั้นๆ สำหรับสาย Entertain หรือ Education + Entertain ยอดการมองเห็นของ TikTok จะค่อนข้างเยอะกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ Influencer ส่วนใหญ่จะเป็นสาย Entertain และดารา
3. เลือกยอด Engagement และยอด Views ที่เหมาะสม
ข้อนี้เป็นข้อที่สำคัญไม่แพ้ข้ออื่นๆ หากเราเลือก Influencer ที่มียอด Engagement ต่ำ การที่คอนเทนต์จะสื่อไปยังกลุ่มเป้าหมายของเรานั้นก็ยิ่งน้อยลงๆ ไปอย่างแน่นอน เพราะ Influencer บางคนมียอดผู้ติดตามเยอะก็จริง แต่ก็ได้รับยอด Engagement ที่น้อย อาจจะเนื่องจากมีการซื้อผู้ติดตาม หรือไม่สามารถทำคอนเทนต์ที่ Engage กับผู้ติดตามของตัวเองได้จริงๆ
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วยิ่งหากมีการจ้างทำรีวิวโปรโมทสินค้า Engagement จะยิ่งน้อยลงไปกว่าคอนเทนต์ปกติของช่องทางนั้นๆ อยู่แล้ว ดังนั้นหากเลือกคนที่ Engagement หรือยอดวิวสูงไว้ก่อน จะมีโอกาสได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
แล้วจะเช็คได้ยังไงว่าใครมียอด Engagement ดี?
โดยปกติแล้วส่วนใหญ่จะเข้าไปส่องโพสต์แต่ละโพสต์ของ Influencer คนนั้นๆ ว่ามียอดไลก์ ยอดคอมเมนต์ที่สอดคล้องกับผู้ติดตามหรือไม่ตามความรู้สึกนั่นเอง แต่ไทโกะนั้นมีการวัดแบบใหม่ที่มีความแม่นยำแบบ 100%
ไทโกะได้พัฒนาระบบวัดค่า Engagement Ratio โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มาประกาศหา Influencer กับ www.taiko.ai เท่านั้น โดยสามารถมองเห็นค่านี้ได้เลยเป็นรูปแบบค่าเฉลี่ย (%) และสามารถเปรียบเทียบกับคนที่มี
ผู้ติดตามเท่ากันได้ด้วย เพื่อให้ได้รับความคุ้มค่ามากที่สุดนั่นเองครับ
4. เลือกจากลักษณะการทำคอนเทนต์ของตัว Influencer
เลือกจากลักษณะคอนเทนต์คืออะไร? ยกตัวอย่างเช่น Influencer A เป็นคนรีวิวสไตล์บ้านๆ ง่ายๆ ดูมีความเป็นกันเองกับผู้ติดตาม หากเอาให้ Influencer A ไปรีวิวคอนโด ซึ่งมันทำได้แต่จะไม่มีความเป็นธรรมชาติ การให้ Influencer ทำอะไรที่ไม่เป็นตัวเองหรือมีการขายของมากเกินไป ยิ่งมีโอกาสทำให้คอนเทนต์นั้นๆ ได้ผลลัพธ์ที่แย่ลงไปอย่างแน่นอนครับ
ดังนั้นควรเลือก Influencer โดยมั่นใจว่า เราต้องการคอนเทนต์ที่แต่ละคนทำเป็นปกติอยู่แล้วจริงๆ
เลือก Influencer ให้ตรงกับจุดประสงค์และงบประมาณ
อีกข้อหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือการเลือก Influencer ให้ตรงตามจุดประสงค์ของแคมเปญนั้นๆ เพราะ Influencer ในแต่ละระดับนั้นมีผลลัพธ์ที่ต่างกันออกไป และต้องมองที่งบประมาณการตลาดของเราด้วยว่าควร จะใช้กลุ่มไหนจึงจะเหมาะสมและคุ้มค่าที่สุดนั่นเองครับ
Nano Influencer (มีผู้ติดตาม 1,000 - 10,000 คน)
ความโดดเด่น : เนื่องจากกลุ่มนี้มีจำนวนมาก ทำให้ราคาการจ้างจึงไม่สูงมาก และยังมีความน่าเชื่อถือที่สูงอีกด้วย เพราะผู้ติดตามส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคนรอบตัว คนสนิทที่รู้จักอยู่แล้วนั่นเองครับ
Micro Influencer (มีผู้ติดตาม 10,000 - 50,000 คน)
ความโดดเด่น : มีความโดดเด่นคล้ายกับ Nano Influencer แต่สามารถเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้นเพราะมีจำนวน
ผู้ติดตามที่เยอะกว่าและสามารถสร้างยอด Engagement ได้ดี
Mid-Tier Influencer (มีผู้ติดตาม 50,000 - 100,000 คน)
ความโดดเด่น : มีความเป็นมืออาชีพที่มากขึ้น และมีแนวทางการนำเสนอคอนเทนต์ที่ชัดเจนเหมาะกับการนำไปสร้าง Brand Awareness และยังเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด
Macro Influencer (มีผู้ติดตาม 100,000 - 1,000,000 คน)
ความโดดเด่น : มีความเป็นมืออาชีพสูง มีแนวทางคอนเทนต์ที่ชัดเจน เหมาะอย่างมากกับการนำไปสร้าง
Brand Awareness เนื่องจากมีผู้ติดตามที่มาก
Mega Influencer (มีผู้ติดตามตั้งแต่ 1,000,000 คนขึ้นไป)
ความโดดเด่น : เป็นกลุ่มที่ไม่ว่าจะทำอะไร มักมีคนคอยติดตามดูอยู่เสมอ ทำให้เหมาะกับการนำไปสร้าง
Brand Awareness ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างภายในระยะเวลาอันสั้น สามารถชักจูงกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ได้อีกด้วย
หากงบประมาณการตลาดน้อยควรเริ่มยังไงดี?
เริ่มจากการเลือกใช้ Nano - Micro Influencer จำนวนหนึ่งแต่มียอด Engagement Ratio ที่ดีจะช่วยให้แคมเปญของเราสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและอาจทำให้เกิดการพูดต่อๆ กันเป็น วงกว้างได้
แล้วถ้าหากมีงบที่มากขึ้นหล่ะ?
หากเริ่มมีงบการตลาดที่มากขึ้นการเลือกใช้ Influencer ที่หลากหลายกลุ่มก็ถือเป็นเรื่องที่ไม่แย่เช่น ใช้ Micro Influencer เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ + Marco Influencer เพื่อสร้างยอดการรับรู้ที่มากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสใน การสร้างเแบรนด์ให้ Viral ได้ง่ายมากขึ้นนั่นเองครับ แต่ก็ต้องแลกด้วยขั้นตอนจัดการที่มากขึ้น
อย่างไรก็ตามไทโกะแนะนำให้อย่าไปลบความเป็นธรรมชาติของ Influencer คนนั้นๆ จนหมดนะครับ ควรปล่อยให้ Influencer ได้ทำงานตามความเป็นธรรมชาติและคงคาเร็กเตอร์ไว้มากที่สุด เพราะไม่อย่างนั้นความน่าเชื่อถือจะถูกลดทอนลงไปอย่างมากเลยทีเดียวครับ
มาเริ่มต้นค้นหาอินฟลูเอนเซอร์อย่างมีประสิทธิภาพด้วยตัวคุณเองได้เลยที่ : www.taiko.ai/campaign
Comments