การตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์เป็นการตลาดรูปแบบหนึ่งที่เน้นให้บุคคลอื่นทำคอนเทนต์, โฆษณาแทนการที่แบรนด์ออกมาพูดถึงสินค้าหรือบริการของตัวเองเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือมากขึ้น
โดยวันนี้ไทโกะได้รวบรวมสถิติ Influencer Marketing ที่น่าสนใจปี 2021 จาก InfluencerMarketingHub
มาให้ทุกคนได้อัปเดตเทรนด์และติดตามสถิติไปด้วยกัน จะมีอะไรน่าสนใจบ้างไปดูกันเลย
แบรนด์เลือกที่จะใช้อินฟลูเอนเซอร์คนเดิมบนแคมเปญอื่นๆ มากถึง 56%
แบรนด์ส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่เคยร่วมงานกันมาแล้วมากกว่าการค้นหาอินฟลูเอนเซอร์หน้าใหม่ๆ
ในแคมเปญครั้งหน้า แต่อย่างไรก็ตามการเลือกอินฟลูเอนเซอร์ก็ยังขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ เป้าหมายและสินค้า
ที่จะโปรโมทในแคมเปญ
67% ของแบรนด์เลือกที่จะใช้แพลตฟอร์ม Instagram ในการทำ Influencer Marketing
Instagram ยังคงเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งที่แบรนด์เลือกใช้มากที่สุดในการทำแคมเปญการตลาดผ่าน
อินฟลูเอนเซอร์ เนื่องจากตัวแพลตฟอร์มนั้นเหมาะแก่การอัปคอนเทนต์ประเภทรูปภาพและวิดีโอสั้นๆ
แต่อย่างไรก็ตามความนิยมก็ได้ลดลงจาก 80% ในปี 2020
fact : 77% ของอินฟลูเอนเซอร์สายแฟชั่นเลือกที่จะใช้แพลตฟอร์ม Instagram ในการรีวิว
แพลตฟอร์ม TikTok ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เปอร์เซ็นต์ของแบรนด์ที่ใช้ TikTok สำหรับการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนตอนนี้ขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ของแพลตฟอร์มยอดนิยม โดย 45% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าพวกเขาเลือกที่จะใช้แพลตฟอร์ม TikTok ในการทำการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์
แบรนด์ต่างๆ ยังคงใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นๆ สำหรับการตลาดด้วย
อินฟลูเอนเซอร์
แม้ว่า Instagram และ TikTok จะเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมสูงสุด แต่แบรนด์ก็ยังคงใช้แพลตฟอร์ม
โซเชียลมีเดียอื่นๆ อย่างสม่ำเสมอเพื่อทำการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์การใช้ Facebook ลดลง 3% เป็น 43% YouTube คงที่ที่ 36% การใช้ Twitter ลดลง 7% เป็น 15% ในปีนี้และ LinkedIn ยังคงเหมือนเดิมที่ 16%
กลุ่ม Micro Influencer มียอด Engagement ที่ดีกว่ากลุ่ม Mega Influencer
Micro Influencer บน Instagram มียอด Engagement โดยเฉลี่ยที่ 3.86% แตกต่างจากกลุ่มที่มีผู้ติดตามมากกว่าที่มียอดเพียง 1.21% และสำหรับแพลตฟอร์ม TikTok Micro Influencer มียอด Engagement
โดยเฉลี่ยมากถึง 18% ในขณะที่กลุ่ม Mega Influencer มีเพียง 5% เท่านั้น
แคมเปญการตลาดที่ใช้ Influencer เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ทาง UpInfluence รายงานว่าโควิด-19 มีผลกระทบต่อจำนวนแคมเปญการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ช่วงไตรมาสแรกของปี 2020 แต่อย่างไรก็ตามจำนวนแคมเปญก็ได้กลับมาเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4
โดยจำนวนแคมเปญช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2019 จะอยู่ที่ 2,110 แคมเปญ จากนั้นได้ลดลงเหลือ 1,945 ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2020 และลดลงอีกครั้งเป็น 1,575 ไตรมาสที่ 2 จากนั้นจำนวนถูกเพิ่มขึ้นเป็น 2,163 ที่ไตรมาส 3 และ 2,901 ที่ไตรมาส 4
50.7% ของแบรนด์ทั้งหมดที่ทำงานร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์เป็นธุรกิจ eCommerce
จากแบบสำรวจการทำการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์นั้นมีธุรกิจหลากหลายที่เลือกใช้ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ต่างๆ
เอเจนซี่การตลาด เอเจนซี่ประชาสัมพันธ์และอื่นๆ แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจเพราะผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่ง
นั้นมีธุรกิจเป็น eCommerce
แบรนด์ทำเงินได้ขั้นต่ำ 175 บาทต่อทุกๆ 33 บาทที่ใช้ไปกับการตลาดอินฟลูเอนเซอร์
แบบสำรวจปี 2019 โดย Influencer Marketing Hub (ร่วมมือกับ Vital Nation และ NeoReach) เน้นว่าการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์สามารถสร้างกำไรสูง โดยธุรกิจ 13% อันดับแรกสามารถทำเงินไ้ด้ 600 บาทขึ้นไป
ทุกการใช้ 33 บาทกับการตลาดอินฟลูเอนเซอร์
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามก็ยังมีแบรนด์ที่ไม่สามารถสร้างรายได้จากการใช้อินฟลูเอนเซอร์เนื่องจากไม่เข้าใจกลไกของการตลาดรูปแบบนี้ หรือเลือกอินฟลูเอนเซอร์ไม่ถูกต้องนั่นเอง
ทั้งหมดนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับ Influencer Marketing ปี 2021 ในตอนที่ 1 จะเห็นได้ว่าการทำการตลาดผ่าน
อินฟลูเอนเซอร์นั้นถือเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการตลาดในยุคนี้ หากเราเข้าใจและสามารถใช้งานการตลาดรูปแบบนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและเพิ่มยอดขายจะไม่ใช่สิ่งที่ยากอีกต่อไปอย่างแน่นอนครับ
หากแบรนด์ที่สนใจและต้องการที่จะเริ่มทำแคมเปญด้วยตัวเองสามารถใช้แพลตฟอร์มค้นหาอินฟลูเอนเซอร์ให้ตอบโจทย์ตรงต่อกลุ่มเป้าหมายและจุดประสงค์ของแคมเปญได้ที่ : www.taiko.ai
อ่านตอนที่ 2 : ติดตามตอนที่ 2 ได้เร็วๆ นี้
ขอบคุณข้อมูลจาก : Influencermarketinghub.com
Comments